วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เทียนข้าวเปลือก ใน ยาสตรี หมอทองอิทร์

ยับยั้งการเกิดสารก่อกลายพันธุ์ บำรุงร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยระบาย แก้คลื่นเหียนอาเจียน ถ่ายพยาธิ มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง
     ชื่อเครื่องยา  เทียนข้าวเปลือก
     ชื่ออื่นๆของเครื่องยา  ยี่หร่าหวาน (Sweet Fennel) เทียนแกลบ
     สมุนไพรได้จาก ผลแก่ แห้ง
    ชื่อวิทยาศาสตร์  Foeniculum vulgare Miller subsp. var. vulgare

           ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:   
           ผลแห้ง รูปขอบขนาน ด้านข้างค่อนข้างแบน ไม่มีขน ผิวเรียบ เมล็ดหรือซีกผลมีลักษณะด้านนอกนูน ด้านในที่ประกบกันของเมล็ดหรือด้านแนวเชื่อมค่อนข้างแบนหรือเว้าเล็กน้อย ด้านที่นูนมีสันตามแนวยาวของเมล็ดจำนวน 3 เส้นด้านแนวเชื่อม 2 เส้น สันมีลักษณะยื่นนูนจากผิวเด่นชัด เมล็ดมีสีน้ำตาล ขนาดกว้าง 1.1-2.5 มม.  ยาว 3.6-8.4 มม.ผลมักไม่ค่อยแตกเป็น 2 ซีก ทำให้ดูคล้ายข้าวเปลือก แต่ก็มีบ้างที่อาจแตกเป็น 2 ซีก ภายในแต่ละซีกมีเมล็ด 1 เมล็ด ทำให้ดูเหมือนแกลบ     เมื่อบดเป็นผงมีสีน้ำตาลอมเหลืองถึงน้ำตาลอมเขียว กลิ่นหอมเฉพาะตัว รสหวาน และเผ็ดร้อน

           สรรพคุณ   
            ตำรายาไทย: ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ขับผายลม ขับเสมหะ แก้ชีพจรอ่อนหรือพิการ แก้นอนสะดุ้ง แก้คลั่ง     แก้เส้นศูนย์กลางท้องพิการ การใช้ตามเภสัชตำรับและการแพทย์แผนเดิม ใช้ขับลม , อาหารไม่ย่อย , เบื่ออาหาร , ลำไส้อักเสบในเด็ก , ขับปัสสาวะ , กระตุ้นความอยากอาหาร , แก้ไอ , ละลายเสมหะและขับเสมหะ
           บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5)    ปรากฏการใช้เมล็ดเทียนข้าวเปลือก ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับยาหอมเทพจิตรและตำรับ ยาหอมนวโกฐมีส่วนประกอบของเทียนข้าวเปลือก อยู่ในพิกัดเทียนทั้ง 9 ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง
           ถึงแม้ว่าเทียนข้าวเปลือกเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ แต่เทียนข้าวเปลือก เป็นสมุนไพรที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เนื่องจากมีแหล่งกำเนิด แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และได้มีการนำมาปลูกในหลายท้องถิ่น เช่น อาเจนตินา ฮังการี บุลกาเรีย เยอรมันี ฝรั่งเศส อิตาลี กรีก จีน อินเดียฯ แต่ได้มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทย ที่เรียกว่า พิกัดเทียน
           เครื่องยาพิกัดเทียน เทียนข้าวเปลือก จัดอยู่ใน พิกัดเทียน  ที่ประกอบด้วยพิกัดเทียนทั้ง 5ได้แก่ เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก และเทียนตาตั๊กแตน พิกัดเทียนทั้ง 7” (มีเทียนเยาวพาณี และเทียนสัตตบุษย์ เพิ่มเข้ามา) พิกัดเทียนทั้ง 9” (มีเทียนตากบ และเทียนเกล็ดหอย เพิ่มเข้ามา) สรรพคุณโดยรวม ของยาที่ใช้ในพิกัดเทียน คือ ช่วยขับลม แก้อาเจียน บำรุงโลหิต และใช้ในตำรับยาหอม
           ตำรับยา น้ำมันมหาจักรในคำอธิบายพระตำราพระโอสถพระนารายณ์ ระบุว่าน้ำมันขนานนี้ ประกอบด้วย น้ำมันงา ผิวมะกรูดสด  เทียนทั้ง 5 ดีปลี และการบูร สรรพคุณ แก้ลม แก้ริดสีดวง แก้เปื่อยคัน ทาแก้เมื่อยขบ และใส่บาดแผล ที่มีอาการปวด ที่เกิดจากเสี้ยน จากหนาม จากหอกดาบ ถ้าระวังไม่ให้แผลถูกน้ำ ก็จะไม่เป็นหนอง
            การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
            ยับยั้งการเกิดสารก่อกลายพันธุ์ บำรุงร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยระบาย แก้คลื่นเหียนอาเจียน ถ่ายพยาธิ มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง ยับยั้งการเจริญของเนื้องอก ระงับอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบในสัตว์ทดลอง ต้านเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ
           ฤทธิ์ลดความดันโลหิต: สารสกัดน้ำมีฤทธิ์ลดความดันโลหิตในหนูโดยมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
           ฤทธิ์ต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด:  น้ำมันหอมระเหยมีผลทำให้เกล็ดเลือดไม่เกาะตัวกัน
           ฤทธิ์ปกป้องกระเพาะอาหาร: สาสกัดน้ำมีฤทธิ์ปกป้องการเกิดแผลที่กระเพาะอาหารหนูจากการทำลายของแอลกอฮอล์
           ฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ: สารสกัดแอลกอฮอล์และน้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อหลอดลมโดยมีผลต่อ potassium channel
           ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน:น้ำมันหอมระเหย สารสกัดน้ำ และสารdiglucoside stilbene trimers และอนุพันธ์ benzoisofuranone มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน
           ฤทธิ์ต้านจุลชีพ: น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด และมีฤทธิ์ต้านเชื้อ Helicobacter pylori
           ฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจน: สารสกัดอะชิโตนมีฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนในหนู มีฤทธิ์ขับน้ำนม ขับปะจำเดือน สารสำคัญคือ polymer ของ anethole
            ฤทธิ์ต้านการปวดอักเสบ: สารสกัดเมทานอลมีฤทธิ์ต้านการปวดและอักเสบ
            ฤทธิ์ปกป้องตับ: น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ปกป้องตับหนู
           ผลต่อเอนไซม์ CYP 450: สารสกัดเมทานอลมีผลต่อเอนไซม์CYP 450 ซึ่งมีผลต่อการเผาผลาญของยาที่ใช้ร่วมกันได้
           การศึกษาทางคลินิก:
            กรณีวัยรุ่นหญิงปวดประจำเดือน: การศึกษาในผู้ป่วยปวดประจำเดือนปานกลางถึงรุนแรง เมื่อรับประทานน้ำมันหอมระเหยปริมาณ 25 หยดทุก 4 ชั่วโมง พบว่าสามารถลดอาการปวดได้ แต่ฤทธิ์น้อยกว่ายา mefenamic acid แต่การได้รับสารสกัดเทียนข้าวเปลือกจะลดอาการปวดได้ดีเทียบเท่ากับยา mefenamic acid
           กรณีผู้ป่วยท้องเสีย: สูตรตำรับที่มีเทียนข้าวเปลือกมีฤทธิ์ลดอาการท้องเสียได้
           กรณีทารกที่ปวดท้อง: พบว่าการให้น้ำมันหอมระเหยเทียนข้าวเปลือกในรูปอิมัลชันช่วยทำให้ทารกมีอากากรดีขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม และสูตรตำรับเทียนข้าวเปลือกจะช่วยให้ทารกมีอาการดีขึ้น
          กรณีคนปกติ: การสูดดมน้ำมันหอมระเหยเทียนข้าวเปลือก จะมีผลกระตุ้นระบบอัตโนมัติ sympathetic
     ปัจจุบัน เทียนข้าวเปลือก มีอยู่ใน ยาน้ำสมุนไพร ยาสตรี หมอทองอินทร์
     วิธีรับประทาน : รับประทานครั้งละ  1-2 ช้อนโต๊ะ(15-30 ซีซี)  ก่อนอาหาร วันละ 2 ครั้งคือ เวลาเช้า-เย็น(เขย่าขวดก่อนรินยา) และรับประทานขณะท้องว่าง
        ควรรับประทานให้ติดต่อกัน 15 วัน เป็นอย่างน้อย ก็จะเห็นผล
     ปริมาณและราคา  1 ขวด ปริมาณ 750 c.c.    ราคา  750 บาท
     ดูข้อมูลที่ http://ladyherbal.blogspot.com   
     เลขทะเบียนยาที่  G 32/49
     สั่งซื้อละเป็นตัวแทนจำหน่าย ที่
          ผู้จำหน่ายรายใหญ่  คุณวีระชัย ทองสา
                 โทร.084-6822645 , 085-0250423
                 อีเมล์  weerachai.coffee@hotmail.com   
           ศูนย์จำหน่ายกรุงเทพฯ คุณ อนันต์  บุญเดช
                  โทร.089-0553345 , 086-5564939


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น