วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ดอกดีปลี ใน ยาสตรี หมอทองอินทร์


สรรพคุณแก้อัมพาต  แก้เส้นปัตตะฆาต  แก้เส้นอัมพฤกษ์  แก้คุดทะราดให้ปิดธาตุ  แก้โรคหลอดลมอักเสบ  เป็นยาขับระดู  เป็นยาธาตุ  ทาแก้ปวดอักเสบของกล้ามเนื้อ
        ชื่อเครื่องยา  ดีปลี
       สมุนไพรได้จากผลที่แก่จัดแต่ยังไม่สุก
       ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)ดีปลีเชือก ประดงข้อ ปานนุ พิษพญาไฟ ปีกผัวะ
     ชื่อวิทยาศาสตร์  Piper retrofractum Vahl

            ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
            ผลแห้งสีน้ำตาลแดง  ผลอัดกันแน่นเป็นช่อรูปทรงกระบอก  โคนโต  ปลายเล็กมน  ขนาดยาวประมาณ  2.5-7.5  เซนติเมตร  เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5.0 – 8.0  มิลลิเมตร  ผิวค่อนข้างหยาบ  และมีเกสรตัวเมียติดอยู่ ผลย่อยมีเมล็ดเดียว  เมล็ดมีขนาดเล็กมาก  กลมและแข็ง  ผงผลสีน้ำตาล กลิ่นหอมเฉพาะ  รสเผ็ดร้อน  ขม ปร่า ขับน้ำลาย ทำให้ลิ้นชา
          สรรพคุณ:
         ตำรายาไทย: ใช้ผล  ขับลม ลดอาการไอ  ระคายคอจากเสมหะ ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อแน่นจุกเสียด  บำรุงธาตุไฟ แก้ปวดท้อง  แก้คลื่นไส้  อาเจียน  แก้ตับพิการ แก้ท้องร่วง แก้ไอ  บีบมดลูก บำรุงธาตุ  ใช้เป็นยาแก้โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ  เช่น  ขับเสมหะ  แก้หืด  แก้หลอดลมอักเสบ  แก้ลมวิงเวียน เป็นยาระงับแก้อาการนอนไม่หลับ  โรคลมบ้าหมู  เป็นยาขับน้ำดี  เมื่อมีการอุดตันของท่อน้ำดี  ยาขับระดูและทำให้แท้งลูก  เป็นยาขับพยาธิในท้อง  แก้ริดสีดวงทวารหนัก ใช้ปรุงเป็นยาทาภายนอกสำหรับบรรเทาอาการปวดที่กล้ามเนื้อ  ทำให้ร้อนแดงและมีเลือดมาเลี้ยงที่บริเวณนั้นมากขึ้น  แก้อักเสบ ฝนเอาน้ำทาแก้ฟก บวม ใส่ฟัน แก้ปวดฟัน

           ตำรายาโบราณ: กล่าวว่า ผลแก้อัมพาต  แก้เส้นปัตตะฆาต  แก้เส้นอัมพฤกษ์  แก้คุดทะราดให้ปิดธาตุ  แก้โรคหลอดลมอักเสบ  เป็นยาขับระดู  เป็นยาธาตุ  ทาแก้ปวดอักเสบของกล้ามเนื้อ  ระงับอชิณโรค  บำรุงธาตุ  ขับลม  ขับลมให้กระจาย  ขับผายลม  แก้ลม  ขับลมในลำไส้  แก้ท้องร่วง  แก้ธาตุพิการ  แก้ธาตุไม่ปกติ  แก้ปฐวีธาตุพิการ  แก้วิสติปัฏฐี  แก้ปัถวีธาตุ  20  ประการ  บำรุงร่างกาย  เจริญอาหาร  แก้จุกเสียด  เจริญไฟธาตุ  แก้ปวดท้อง ขับเสมหะในโรคหืด  แก้อุระเสมหะ (เสมหะในทรวงอก)  ปรุงเป็นยาประจำ  ปัถวีธาตุ  เป็นยาขับรกให้รกออกง่าย  ภายหลังจากการคลอดบุตรและใช้เวลาโลหิตตกมาก  แก้เสมหะ  แก้หืดไอ  แก้ลมวิงเวียน  แก้ริดสีดวงทวาร  แก้คุดทะราด  แก้อาการท้องอืด  ท้องเฟ้อ  แก้อาการคลื่นไส้  (เกิดจากธาตุไม่ปกติ)

            ตำรายาไทย: ดีปลีจัดอยู่ใน “พิกัดตรีกฎุกแปลว่าของที่มีรสร้อน 3 อย่าง เป็นพิกัดยาที่ประกอบด้วยเครื่องยา 3 อย่าง ในปริมาณเสมอกันคือ พริกไทย ขิงแห้ง และดีปลี มีสรรพคุณแก้โรคที่เกิดจากวาตะ(ลม) เสมหะ และปิตตะ(ดี) ในกองธาตุ กองฤดู กองอายุ และกองสมุฏฐาน พิกัดตรีสันนิบาตผล(ตรีสัพโลหิตผล)" คือการจำกัดตัวยาแก้ไข้สันนิบาต 3 อย่าง คือ ผลดีปลี รากพริกไทย และรากกระเพราแดง มีสรรพคุณแก้ไข้สันนิบาต แก้ในกองลม บำรุงธาตุ แก้ปถวีธาตุ 20 ประการ พิกัดตัวยาเผ็ดร้อน 6 ชนิดคือการจำกัดจำนวนตัวยาเผ็ดร้อน 6 ชนิด คือ ดีปลี พริกไทย ผลผักชีลา ใบแมงลัก ผลกระวาน ใบโหระพา มีสรรพคุณแก้ลมจุกเสียด ช้ำบวม ช่วยย่อยอาหาร พิกัดเบญจกูลคือการจำกัดจำนวนตระกูลยาที่มีรสร้อน 5 อย่าง มี เหง้าขิงแห้ง ดอกดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง มีสรรพคุณกระจายกองลมและโลหิต แก้คูถเสมหะ แก้ลมพานไส้ บำรุงกองธาตุทั้ง 4 ให้บริบูรณ์
           ตำรายาพระโอสถพระนารายณ์:ปรากฏตำรับ “ยาอาภิสะมีดีปลีเป็นองค์ประกอบหลักร่วมกับสมุนไพรอื่นอีกหลายชนิด มีสรรพคุณแก้ริดสีดวง ไอ ผอมแห้ง แก้เสมหะในทรวงอกและลำคอ

           นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5)    ปรากฏการใช้เมล็ดเทียนดำ ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย รวม 5 ตำรับ คือ
                   1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ ”ยาหอมนวโกฐมีส่วนประกอบของดีปลี ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง
                   2. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาธาตุบรรจบมีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณ บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ ตำรับ ยาประสะกานพลูมีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ ตำรับยาเหลืองปิดสมุทรมีส่วนประกอบของดีปลี ร่วมกับสมุนไพรอื่นอีก 12 ชนิดในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูก หรือมีเลือดปนและท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้
                   3.ยารักษากลุ่มอาการทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ปรากฏตำรับ “ยาประสะไพลมีส่วนประกอบของดีปลีร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ในสตรีที่ระดูมาไม่สม่ำเสมอ หรือมาน้อยกว่าปกติ
            การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
             มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา  ต้านการเกิดแผลที่กระเพาะอาหาร  ต้านออกซิเดชั่น กดประสาทส่วนกลาง เสริมฤทธิ์ยานอนหลับ ลดไขมันในเลือด ลดน้ำตาลในเลือด ต้านพิษต่อตับ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ทำให้สัตว์ทดลองแท้ง จึงควรระวังการใช้ในสตรีมีครรภ์

     ปัจจุบัน เหง้าดอกดีปลี มีอยู่ใน ยาน้ำสมุนไพร ยาสตรี หมอทองอินทร์
      วิธีรับประทาน : รับประทานครั้งละ  1-2 ช้อนโต๊ะ(15-30 ซีซี)  ก่อนอาหาร วันละ 2 ครั้งคือ เวลาเช้า-เย็น(เขย่าขวดก่อนรินยา) และรับประทานขณะท้องว่าง
        ควรรับประทานให้ติดต่อกัน 15 วัน เป็นอย่างน้อย ก็จะเห็นผล
        ปริมาณและราคา  1 ขวด ปริมาณ 750 c.c.    ราคา  750 บาท
     ดูข้อมูลที่ http://ladyherbal.blogspot.com  
     เลขทะเบียนยาที่  G 32/49
     สั่งซื้อละเป็นตัวแทนจำหน่าย ที่
          ผู้จำหน่ายรายใหญ่  คุณวีระชัย ทองสา
                 โทร.084-6822645 , 085-0250423
                 อีเมล์  weerachai.coffee@hotmail.com 
          ศูนย์จำหน่ายกรุงเทพฯ คุณ อนันต์  บุญเดช
                  โทร.089-0553345 , 086-5564939


 
 

รากช้าพลู ใน ยาสตรี หมอทองอินทร์

รากใช้ขับเสมหะ บำรุงธาตุ ใบมีคุณสมบัติเจริญอาหารและขับเสมหะ
      ชื่อ : ชะพลู  ช้าพลู  รากชะพลู  รากช้าพลู
      ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper sarmentosum Roxb


      ชะพลูมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือทางภาคเหนือเรียกว่า "ผักปูนา" "ผักพลูนก" "พลูลิง" "ปูลิง" "ปูลิงนก" ทางภาคกลาง เรียกว่า "ช้าพลู" ทางภาคอีสานเรียกว่า "ผักแค" "ผักปูลิง" "ผักนางเลิด" "ผักอีเลิด" และ ทางภาคใต้เรียกว่า "นมวา"
       ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นทอดคลานไปตามพื้นดิน สูง 30-80 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียว มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ มีรากงอกออกตามข้อ  ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ แผ่นใบบาง ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน  ใบรูปหัวใจ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 7-15 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบรูปทรงกระบอก ดอกเล็กสีขาวอัดแน่นอยู่บนแกนช่อดอก  ดอกแยกเพศ ผล เป็นผลสด กลม อัดแน่นอยู่บนแกน

 ส่วนที่ใช้ :  ผล ใบ ทั้งต้น ราก
     ประโยชน์ของชะพลู
      ดอก : ทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้
      ราก : ขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง
      ทั้งต้น : แก้เสมหะ ท้องอืด ท้องเฟ้อ - รักษาโรคเบาหวาน
   วิธีและปริมาณที่ใช้
      -โรคเบาหวาน ใช้ชะพลูสดทั้ง 5 จำนวน 7 ต้น ล้างน้ำให้สะอาด ใส่น้พอท่วม ต้มให้เดือดสักพัก นำมาดื่ม เหมือนดื่มน้ำชา ข้อควรระวัง - จะต้องตรวจน้ำตาลในปัสสาวะก่อนดื่มและหลังดื่มทุกครั้ง เพราะว่าน้ำยานี้ทำให้น้ำตาลลดลงเร็วมาก ต้องเปลี่ยนต้นชะพลูใหม่ทุกวันที่ต้ม ต้มดื่มต่อไปทุกๆ วัน จนกว่าจะหาย
    -แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลม ใช้ราก 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 1/2 ถ้วยแก้ว รับประประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว
    -แก้บิด ใช้รากครึ่งกำมือ ผล 2-3 หยิบมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/4 ถ้วยแก้ว
      สรรพคุณ / ประโยชน์ของใบชะพลู (ชะพลู) คุณค่าทางอาหารของใบชะพลู
      คุณค่าสมุนไพรใบชะพลูนั้นได้แก่รากนั้นใช้ขับเสมหะ บำรุงธาตุ ใบมีคุณสมบัติเจริญอาหารและขับเสมหะ เถาและรากก็ใบขับเสมหะเหมือนกัน รับประทานใบชะพลูบ้างเพื่อปรับธาตุปรับสมดุลในร่างกาย แต่อย่ามากเกินเพราะอาจเป็นพิษกับตัวคนกินได้ ดังนั้นรู้จักความพอดีได้ในใบชะพลู

      ประโยชน์ของใบชะพลู
      ในใบชะพลูมีสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายของมนุษย์อย่างมาก คือ แคลเซียมและวิตามินเอซึ่งจะมีสูงเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีฟอสฟอรัส เหล็ก เส้นใย และสารคลอโรฟิล ส่วนสรรพคุณทางยานั้นช่วยบำรุงธาตุ แก้จุกเสียด การกินใบชะพลูมาก ๆ ชนิดที่เรียกว่า กินกันทุกวัน กินกันแทบทุกมื้อ เช่น ชาวบ้านภาคอีสานนั้น แคลเซียมที่มีในใบชะพลูจะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลท ซึ่งถ้าสะสมมาก ๆ อาจกลายเป็นนิ่วในไตได้ แต่โดยทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวันก็ไม่มีใครกินชะพลูได้มากมายขนาดนั้น ถ้ากินใบชะพลูต้องกินร่วมกับเนื้อสัตว์ร่างกายจึงใช้แคลเซียมที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

    ปัจจุบัน รากช้าพลู มีอยู่ใน ยาน้ำสมุนไพร ยาสตรี หมอทองอินทร์
    วิธีรับประทาน : รับประทานครั้งละ  1-2 ช้อนโต๊ะ(15-30 ซีซี)  ก่อนอาหาร วันละ 2 ครั้งคือ เวลาเช้า-เย็น(เขย่าขวดก่อนรินยา) และรับประทานขณะท้องว่าง
     ควรรับประทานให้ติดต่อกัน 15 วัน เป็นอย่างน้อย ก็จะเห็นผล
     ปริมาณและราคา  1 ขวด ปริมาณ 750 c.c.    ราคา  750 บาท
     ดูข้อมูลที่ http://ladyherbal.blogspot.com   
     เลขทะเบียนยาที่  G 32/49
      สั่งซื้อละเป็นตัวแทนจำหน่าย ที
         ผู้จำหน่ายรายใหญ่  คุณวีระชัย ทองสา
                 โทร.084-6822645 , 085-0250423
                     อีเมล์  weerachai.coffee@hotmail.com   
             ศูนย์จำหน่ายกรุงเทพฯ คุณ อนันต์  บุญเดช
                 โทร.089-0553345 , 086-5564939
 


วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

รากเจตมูลเพลิง ใน ยาสตรี หมอทองอินทร์

บำรุงโลหิต ขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหารให้ผายเรอ ขับพยาธิ แก้ปวดข้อ ขับประจำเดือนสตรี ใช้ผสมในยาบำรุงสำหรับสตรีหลังคลอด
       ชื่อสมุนไพร   เจตมูลเพลิงแดง
       ชื่ออื่นๆ  ปิดปิวแดง (ภาคเหนือ) ปิดปีแดง(เลย) ไฟใต้ดิน(ใต้) คุ้ยวู่ (กาญจนบุรี)
       ชื่อวิทยาศาสตร์  Plumbago indica  L.

     
 
     ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
       ไม้พุ่มล้มลุกขนาดเล็ก สูงราว 1-1.5 เมตร มีอายุหลายปี กิ่งก้านมักทอดยาว ยอดอ่อนสีแดง ลำต้นกลมเรียบ กิ่งอ่อนสีเขียวปนแดง มีสีแดงบริเวณข้อ ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน รูปไข่ กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 8-13 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน มีสีเขียว ใบบาง แผ่นใบมักบิด ก้านใบและแกนกลางใบอ่อนมีสีแดง ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจะเชิงลด ยาว 20-90 ซม. ก้านช่อดอกยาว 1-3 ซม. มีดอกย่อยจำนวนมาก ประมาณ 10-15 ดอก
       ดอกออกเป็นช่อตั้งขึ้นที่ปลายกิ่งหรือปลายยอด กลีบดอกสีแดงสด กลีบบางมี 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็กๆ ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปไข่กลับ ยาวประมาณ 2 ซม. ปลายกลีบกลม เป็นติ่งหนามตอนปลาย ใบประดับและใบประดับย่อยรูปไข่ขนาดเล็ก ยาว 0.2-0.3 ซม. เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดตรงข้ามกลีบดอก อับเรณูยาวประมาณ 2 มม. รังไข่รูปรี ก้านเกสรเพศเมียมีหลายขนาดมีขนยาวที่โคน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปใบหอก เป็นหลอดเล็ก ยาว 0.5-1 เซนติเมตร สีเขียว และมีขนเหนียวๆปกคลุม เมื่อจับรู้สึกเหนียวมือ
      ผลลักษณะเป็นฝักกลม ทรงรียาว เป็นผลแห้งเมื่อแก่แตกตามร่องได้ พบตามป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณทั่วไป ป่าดิบแล้ง ยางจากรากเมื่อถูกผิวหนังจะทำให้ไหม้ พอง เหมือนโดนไฟจึงได้ชื่อว่า เจตมูลเพลิง
     

      สรรพคุณ   
      ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี  ใช้  ราก เข้ายากับพริกไทย ดองเหล้าดื่ม ช่วยขับปัสสาวะ  ราก ช่วยย่อยอาหาร ขับลม แก้ตกขาว
       ตำรายาไทย  ใช้  ราก มีรสร้อน เป็นยาบำรุงไฟธาตุ บำรุงโลหิต ขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหารให้ผายเรอ ขับพยาธิ แก้ปวดข้อ ขับประจำเดือนสตรี ใช้ผสมในยาบำรุงสำหรับสตรีหลังคลอด เพื่อให้มดลูกเข้าอู่ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ปวดเสียด แน่นหน้าอก ทำให้ร่างกายเกิดความอบอุ่น แต่กินมากอาจทำให้แท้งลูกได้ (ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์)
          แพทย์โบราณนิยมใช้รากเจตมูลเพลิงแดงมากกว่าเจตมูลขาวเพราะมีฤทธิ์แรงกว่า โดยใช้รากเจตมูลเพลิงผสมในยาธาตุ เป็นยาช่วยย่อยและยาเจริญอาหารโดยนำผงของรากมาผสมกับลูกสมอพิเภก ผลดีปลี และเกลือ อย่างละเท่ากันรับประทานครั้งละ 2.5 กรัม ขับโลหิตระดู นำรากบดเป็นผงปิดพอกฝี ทำให้เกิดความร้อน เกลื่อนฝีได้ แก้ริดสีดวงทวาร ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย กระจายเลือดลม แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย มีฤทธิ์บีบมดลูกทำให้แท้งได้  ใช้เป็นยาทาภายนอกแก้โรคผิวหนังบางชนิด ทาแก้กลากเกลื้อน หรือใช้ผงรากปิดพอกฝี ระงับอาการปวดฟัน และแก้ท้องร่วง รากมีสาร plumbagin มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของมดลูกและลำไส้ช่วยให้มีการหลั่งน้ำย่อยเพิ่มขึ้น เพิ่มความอยากอาหาร แต่อาจทำให้ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร และอาจเป็นพิษได้  ใบ รสร้อน แก้ลมในกองเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร ขับผายลม แก้น้ำดีในฝัก ต้น รสร้อน แก้โลหิตอันเกิดแต่กองกำเดา ดอก มีรสร้อน แก้น้ำดีในฝัก
        ตำรายาล้านนา  ใช้  ราก รักษากามโรค โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ อัมพาต อาการไอ และขับเสมหะ
        ในประเทศฝรั่งเศส  ใช้  ราก เคี้ยวระงับอาการปวดฟัน
        ในไทยและมาเลเซีย  ถือเป็นยาทำให้แท้ง
         ในไทยและอินเดีย  ใช้เป็นยาช่วยย่อยเจริญอาหารผสมในยาธาตุ และรักษาโรคผิวหนังกลาก เกลื้อน

     ปัจจุบัน รากเจตมูลเพลิง มีอยู่ใน ยาน้ำสมุนไพร ยาสตรี หมอทองอินทร์
   วิธีรับประทาน : รับประทานครั้งละ  1-2 ช้อนโต๊ะ(15-30 ซีซี)  ก่อนอาหาร วันละ 2 ครั้งคือ เวลาเช้า-เย็น(เขย่าขวดก่อนรินยา) และรับประทานขณะท้องว่าง
     ควรรับประทานให้ติดต่อกัน 15 วัน เป็นอย่างน้อย ก็จะเห็นผล
     ปริมาณและราคา  1 ขวด ปริมาณ 750 c.c.    ราคา  750 บาท
     ดูข้อมูลที่ http://ladyherbal.blogspot.com  
     เลขทะเบียนยาที่  G 32/49
     สั่งซื้อละเป็นตัวแทนจำหน่าย ที่
          ผู้จำหน่ายรายใหญ่  คุณวีระชัย ทองสา
                 โทร.084-6822645 , 085-0250423
                 อีเมล์  weerachai.coffee@hotmail.com  
           ศูนย์จำหน่ายกรุงเทพฯ คุณ อนันต์  บุญเดช
                  โทร.089-0553345 , 086-5564939



เหง้าขิงแห้ง ใน ยาสตรี หมอทองอินทร์

บรรเทาอาการท้องอืด ขับลม จุกเสียด แน่นท้อง ป้องกันและบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน
      ชื่อเครื่องยา  ขิง
      สมุนไพรได้จาก เหง้าแก่
      ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา) ขิงแกลง ขิงแดง ขิงเผือก สะเอ
      ชื่อวิทยาศาสตร์  Zingiber officinale Roscoe

    ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
            เหง้ามีลักษณะเป็นข้อๆ แบนในแนวนอน แตกแขนง รูปร่างเหมือนฝ่ามือประกอบด้วยแง่งเล็กๆ เปรียบเสมือนนิ้ว ขนาดยาว 3- 16 เซนติเมตร กว้าง 3-4 เซนติเมตร และหนา มากกว่า 2 เซนติเมตร ผิวนอกสีเหลือง หรือน้ำตาลอ่อน มีแนวย่นตามยาว ภายในมีสีเหลืองอ่อนถึงสีน้ำตาล เป็นเสี้ยน    มี fiber มาก กลิ่นหอมเฉพาะ ผงสีเหลืองอ่อน รสหวาน เผ็ดจัด ร้อน
       สรรพคุณ:
            ตำรายาไทย: ใช้เหง้า รักษาอาการท้องอืด เฟ้อ เสียดท้อง อาหารไม่ย่อย ปวดเกร็งช่องท้อง แก้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร รักษาอาการหวัด รักษาอาการปวดศีรษะเนื่องจากไมเกรน และรักษาอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ บำรุงธาตุไฟ ฆ่าพยาธิ สรรพคุณโบราณ ขิงแห้ง แก้ไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้หอบ แก้ลม แก้จุกเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียน อาเจียน ส่วนขิงสด ใช้แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ให้ผายลมและเรอ แก้อาเจียน ยาขมเจริญอาหาร ขับน้ำดีช่วยย่อยอาหาร แก้ปากคอเปื่อย แก้ท้องผูก ลดความดัน

           ตำรายาไทย: มีการใช้เหง้าขิงใน พิกัดจตุวาตะผลคือการจำกัดจำนวนตัวยาแก้ลม ประกอบด้วยผล 4 อย่าง คือ เหง้าขิงแห้ง กระลำพัก อบเชยเทศ และโกฐหัวบัว มีสรรพคุณแก้ไข้ แก้พรรดึก แก้ตรีสมุฏฐาน ขับผายลม บำรุงธาตุ แก้ลมกองริดสีดวง พิกัดเบญจกูลคือการจำกัดจำนวนตระกูลยาที่มีรสร้อน 5 อย่าง มี เหง้าขิงแห้ง ดอกดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง มีสรรพคุณกระจายกองลมและโลหิต แก้คูถเสมหะ แก้ลมพานไส้ บำรุงกองธาตุทั้ง 4 ให้บริบูรณ์ พิกัดตรีรัตตะกุลา (ตรีสัตกุลา)คือการจำกัด ตัวยาอันสามารถ 3 อย่าง ประกอบด้วย เหง้าขิงสด ผลผักชีลา และเทียนดำ ใช้อย่างละเท่าๆกัน ในการบำรุงธาตุไฟ ขับลมในลำไส้ แก้อาการธาตุ นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5)    ปรากฏการใช้ขิงแห้ง ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย รวม 3 ตำรับ คือ
                1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ ยาหอมนวโกฐมีส่วนประกอบของขิงแห้ง ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง
                2. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ ยาธาตุบรรจบมีส่วนประกอบของขิง ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณ บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ และตำรับ ยาประสะกานพลูมีส่วนประกอบของขิงแห้ง ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ นอกจากนี้ยังจัดอยู่ในบัญชียาพัฒนาจากสมุนไพรที่สามารถใช้เดี่ยว เพื่อบรรเทาอาการท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง ป้องกันและบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการเมารถ เมาเรือ ป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน หลังการผ่าตัด

 
     รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
            ยาแคปซูลที่มีผงเหง้าขิง(แห้ง) 250 มิลลิกรัม และ 500 มิลลิกรัม และ 500 มิลลิกรัมหรือ ยาผงที่มีเหง้าขิง (แห้ง) ซองละ 1 กรัม มีขนาดใช้ดังนี้
                1.บรรเทาอาการท้องอืด ขับลม จุกเสียด แน่นท้อง รับประทาน 2-4 กรัม ต่อวัน
                2.ป้องกันและบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการเมารถ เมาเรือ รับประทานวันละ 1-2 กรัม
                3.ป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน หลังการผ่าตัด รับประทานครั้งละ 1 กรัม ก่อนการผ่าตัด 1 ชั่วโมง
            องค์ประกอบทางเคมี:
            สารที่ให้รสเผ็ดร้อน gingerols. สาร shogaols, น้ำมันหอมระเหยและชัน(oleoresin) 4.0-7.5% ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย 1.0-3.3% สารประกอบหลักคือ sesquiphellandrene hydrocarbon 30-70% (เป็นสารที่ให้กลิ่นหอม) ได้แก่ (-)-zingiberene, (+)-ar-curcumene, (-)-?-sesquiphellandrene

 
       การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
            กระตุ้นการบีบตัวของหัวใจหนู  ยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด แก้ปวด ลดไข้  ขับน้ำดี ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้บีบตัวเพิ่มขึ้น ยับยั้งเชื้อ H.pylori ต้านการอักเสบ ปกป้องไต ปกป้องตับ ต้านมะเร็ง ป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่  ลดน้ำตาลในเลือด 
       การศึกษาทางคลินิก:
            ป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน ที่เกี่ยวเนื่องจากการเมารถ เมาเรือ หลังการผ่าตัด และการอาเจียนจากการตั้งครรภ์ บรรเทาปวดของผู้ป่วยข้ออักเสบ ปวดหลังเรื้อรัง บรรเทาอาการปวดบวม    ป้องกันและเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
     ปัจจุบัน เหง้าขิงแห้ง มีอยู่ใน ยาน้ำสมุนไพร ยาสตรี หมอทองอินทร์
     วิธีรับประทาน : รับประทานครั้งละ  1-2 ช้อนโต๊ะ(15-30 ซีซี)  ก่อนอาหาร วันละ 2 ครั้งคือ เวลาเช้า-เย็น(เขย่าขวดก่อนรินยา) และรับประทานขณะท้องว่าง
        ควรรับประทานให้ติดต่อกัน 15 วัน เป็นอย่างน้อย ก็จะเห็นผล
     ปริมาณและราคา  1 ขวด ปริมาณ 750 c.c.    ราคา  750 บาท
     ดูข้อมูลที่ http://ladyherbal.blogspot.com  
     เลขทะเบียนยาที่  G 32/49
     สั่งซื้อละเป็นตัวแทนจำหน่าย ที่
          ผู้จำหน่ายรายใหญ่  คุณวีระชัย ทองสา
                 โทร.084-6822645 , 085-0250423
                 อีเมล์  weerachai.coffee@hotmail.com 
           ศูนย์จำหน่ายกรุงเทพฯ คุณ อนันต์  บุญเดช
                  โทร.089-0553345 , 086-5564939


โกฐสอ ใน ยาสตรี หมอทองอินทร์

สรรพคุณ แก้ไข้จับสั่น แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคในปอด แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ
       ชื่อเครื่องยา    โกฐสอ
       ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
       สมุนไพรได้จาก รากแห้ง
       ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)    แป๊ะลี้(จีน)
       ชื่อวิทยาศาสตร์   Angelica dahurica Benth.

      ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
            เครื่องยาชนิดนี้มีลักษณะกลมยาวคล้ายหัวผักกาด แต่มีขนาดเล็กกว่า และแข็งกว่ามาก  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 2 ซม.  ยาวราว 10-25 ซม.  มีขนาดต่างๆ  ผิวสีน้ำตาล  มีรอยย่นๆและมีสัน  ที่เปลือกมีประที่มีชันอยู่  เนื้อในมีสีขาวนวล  มีจุดเล็กๆซึ่งเป็นชันหรือน้ำมันระเหยง่ายทำให้มีกลิ่นหอม  มีรสเผ็ดร้อนและขมมัน
     ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
             ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 3% w/w  ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 7% w/w  ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 2% w/w  ปริมาณสารสกัดเอทานอล ไม่น้อยกว่า 25% w/w  ปริมาณสาร imperatorin ไม่น้อยกว่า 0.08% w/w 

               สรรพคุณ:
            ตำรายาไทย: ใช้แก้ไข้  แก้หืด  แก้ไอ  ทำหัวใจให้ชุ่มชื่น แก้เสมหะเป็นพิษ แก้สะอึก แก้หลอดลมอักเสบ แก้ไข้จับสั่น  จีนนิยมใช้ยานี้มานานแล้ว  โดยมักใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด  แก้ปวดหัว  โพรงจมูกอักเสบ แก้ปวดฟัน  แก้ริดสีดวงทวารหนัก  แก้อาการทางผิวหนังต่างๆ  เช่น  แผลไฟไหม้  น้ำร้อนลวก  บวม  แก้ริดสีดวงจมูกโดยเตรียมเป็นยานัตถุ์  จีนถือว่ายานี้เป็นยาเฉพาะสตรี  จึงใช้ยานี้เป็นยาเกี่ยวกับระดู  เช่น  ใช้แก้ตกขาว  อาการปวด บวมแดง นอกจากนั้นยังใช้ผสมในเครื่องสำอางบำรุงผิวหน้าหลายชนิด
           นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5)    ปรากฏการใช้โกฐสอในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย รวม 6 ตำรับ คือ
                1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับยาหอมเทพจิตรและตำรับ ยาหอมนวโกฐมีส่วนประกอบของโกฐสออยู่ในพิกัดโกฐทั้ง 9 ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง
                2.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบอาหาร ปรากฏตำรับ ยาธาตุบรรจบมีส่วนประกอบของโกฐสอร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆในตำรับ ใช้บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ อาการอุจจาระธาตุพิการ ท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ ตำรับยาประสะกานพลูมีส่วนประกอบของโกฐสอร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ
                3.ยาแก้ไข้ ปรากฏตำรับ ยาจันทน์ลีลาและตำรับ ยาแก้ไขห้าราก  มีส่วนประกอบของโกฐสอร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู

           ตำรับยาสมุนไพรล้านนา: ยาเม็ดขี้กระต่ายมีรสขม ใช้รักษาโรคเลือดเป็นพิษ หัด สุกใสและร้อนใน ประกอบโกฐสอ และสมุนไพรต่างๆ คือ โกฐสอ บอระเพ็ด บัวบก เกสรบับ 6 อย่าง เทียนดำ เทียนแดง อย่างละเท่ากัน
           ตำรับยาพระโอสถพระนารายณ์: ยาจิตรการิยพิจรูญระบุว่าใช้แก้ริดสีดวงผอมเหลือง ท้องรุ้งพุงมาน จุกกระผามม้ามเรื้อย(อาการม้ามโต) มองคร่อ หืด ไอ ลมอัมพาต และลมอื่นๆทั้งหลาย มีองค์ประกอบของสมุนไพรรวม 25 อย่าง รวมทั้งโกฐสอด้วย
           โกฐสอเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ พืชชนิดนี้มีเขตกระจายพันธุ์ในประเทศจีน และได้มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทย ที่เรียกว่า พิกัดโกฐ     โกฐสอจัดอยู่ใน โกฐทั้งห้า(เบญจโกฐ) โกฐทั้งเจ็ด(สัตตโกฐ) และโกฐทั้งเก้า(เนาวโกฐ) สรรพคุณโดยรวมของยาที่ใช้ในพิกัดโกฐ คือ แก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง ขับลม แก้สะอึก บำรุงเลือด บำรุงกระดูก

           เครื่องยาพิกัดโกฐประกอบด้วย พิกัดโกฐทั้ง 5” ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลำพา มีสรรพคุณแก้ไข้เพื่อเสมหะ หืดไอ แก้โรคปอด โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต พิกัดโกฐทั้ง 7” (มีโกฐกระดูก และโกฐก้านพร้าว เพิ่มเข้ามา) สรรพคุณ แก้ไข้จับสั่น แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคในปอด แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก พิกัดโกฐทั้ง 9”  (มีโกฐพุงปลา และโกฐชฎามังษี เพิ่มเข้ามา) สรรพคุณแก้ไข้จับ แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคปอด แก้โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก บำรุงกระดูก แก้ไข้ในกองธาตุอติสาร แก้ไส้ด้วนไส้ลาม ขับระดูร้าย
        องค์ประกอบทางเคมี:
            สารกลุ่มคูมาริน เช่น  byakangelicin, byakangelicol, imperatorin, oxypeucedanin, phellopterin 
            สารกลุ่ม polyacetylenic, ferulic  acid
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
            มีรายงานวิจัยพบว่ามีฤทธิ์ต้านการเต้นผิดปกติของหัวใจหนู  มีฤทธิ์คลายความกังวล  ป้องกันสมองเสื่อม  ฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน  ต้านการอักเสบ  ปกป้องตับ  ต้านการก่อเกิดเนื้องอก  มีฤทธิ์ทำให้หลับ  มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ต้านเชื้อแบคทีเรีย   ยับยั้งเอนไซม์  tyrosinase ฯลฯ
     ปัจจุบัน สมุนไพรโกฐสอ มีอยู่ใน ยาน้ำสมุนไพรยาสตรี หมอทองอินทร์
      วิธีรับประทาน : รับประทานครั้งละ  1-2 ช้อนโต๊ะ(15-30 ซีซี)  ก่อนอาหาร วันละ 2 ครั้งคือ เวลาเช้า-เย็น(เขย่าขวดก่อนรินยา) และรับประทานขณะท้องว่าง
        ควรรับประทานให้ติดต่อกัน 15 วัน เป็นอย่างน้อย ก็จะเห็นผล
     ปริมาณและราคา  1 ขวด ปริมาณ 750 c.c.    ราคา  750 บาท
     ดูข้อมูลที่ http://ladyherbal.blogspot.com
     เลขทะเบียนยาที่  G 32/49
     สั่งซื้อละเป็นตัวแทนจำหน่าย ที่
          ผู้จำหน่ายรายใหญ่  คุณวีระชัย ทองสา
                 โทร.084-6822645 , 085-0250423
                 อีเมล์  weerachai.coffee@hotmail.com  
           ศูนย์จำหน่ายกรุงเทพฯ คุณ อนันต์  บุญเดช
                  โทร.089-0553345 , 086-5564939