วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เทียนดำ ใน ยาสตรี หมอทองอินทร์

สรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง
       ชื่อเครื่องยา เทียนดำ 
      ชื่อวิทยาศาสตร์ Nigella sativa 

      ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
            เมล็ดรูปสามเหลี่ยม ถึงห้าเหลี่ยม สีดำ เนื้อในสีขาว ขนาดกว้าง 1.4-1.8 มิลลิเมตร ยาว 2.5-3.0 มิลลิเมตร   เมล็ดแก่แห้ง มีสีดำสนิท ผิวนอกขรุขระ ไม่มีขน มีกลิ่นเล็กน้อย และค่อนข้างแข็ง หากใช้มือถูที่เมล็ด หรือนำเมล็ดไปบด จะได้กลิ่นหอม ฉุน มีรสชาติขม เผ็ด ร้อน คล้ายเครื่องเทศ
          ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
            สรรพคุณ:
            ตำรายาไทย: เมล็ด รสเผ็ดขม ขับเสมหะให้ลงสู่คูทวาร ขับลมในลำไส้ ช่วยย่อย แก้ท้องอืด เฟ้อ แก้อาเจียน บำรุงโลหิต  ขับน้ำนม ขับปัสสาวะ ขับระดู บีบมดลูก แก้โรคลม ขับพยาธิ
           ตำรายาไทยแผนโบราณ: มีการใช้เมล็ดเทียนดำ ในพิกัดตรีรัตตะกุลา (ตรีสัตกุลา)คือการจำกัด ตัวยาอันสามารถ 3 อย่าง ประกอบด้วย เหง้าขิงสด ผลผักชีลา และเทียนดำ ใช้อย่างละเท่าๆกัน ในการบำรุงธาตุไฟ ขับลมในลำไส้ แก้อาการธาตุ นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5)    ปรากฏการใช้เมล็ดเทียนดำ ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย รวม 5 ตำรับ คือ
                   1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับยาหอมเทพจิตรและตำรับ ยาหอมนวโกฐมีส่วนประกอบของเทียนดำ อยู่ในพิกัดเทียนทั้ง 9 ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง
                   2. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ ยาธาตุบรรจบมีส่วนประกอบของเทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนสัตตบุษย์ และเทียนเยาวพาณี ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณ บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ และตำรับ ยาประสะกานพลูมีส่วนประกอบของเทียนดำ และเทียนขาว ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ9
                    3.ยารักษากลุ่มอาการทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ปรากฏตำรับ ยาประสะไพลมีส่วนประกอบของเทียนดำ ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้ในสตรีที่ระดูมาไม่สม่ำเสมอ หรือมาน้อยกว่าปกติ

           ถึงแม้ว่าเทียนดำเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ แต่เทียนดำ เป็นสมุนไพรที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เนื่องจากมีแหล่งกำเนิด แถบตะวันออกกลาง (ประเทศซีเรีย และเลบานอน) แต่ได้มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทย ที่เรียกว่า พิกัดเทียน
         เครื่องยาพิกัดเทียน เทียนดำจัดอยู่ใน พิกัดเทียน  ที่ประกอบด้วยพิกัดเทียนทั้ง 5” ได้แก่ เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก และเทียนตาตั๊กแตน พิกัดเทียนทั้ง 7” (มีเทียนเยาวพาณี และเทียนสัตตบุษย์ เพิ่มเข้ามา) พิกัดเทียนทั้ง 9” (มีเทียนตากบ และเทียนเกล็ดหอย เพิ่มเข้ามา) สรรพคุณโดยรวม ของยาที่ใช้ในพิกัดเทียน คือ ช่วยขับลม แก้อาเจียน บำรุงโลหิต และใช้ในตำรับยาหอม

            องค์ประกอบทางเคมี:
            น้ำมันระเหยยาก (fixed oil) เช่น linoleic acid, oleic acid, palmitic acid ประมาณ 30%
            น้ำมันระเหยง่าย (volatile oil) ประมาณ 0.5-1.5% โดยมีองค์ประกอบหลักของน้ำมันระเหยง่ายเป็นอนุพันธ์ของควิโนน คือ thymoquinone คิดเป็น 54% ของน้ำมันระเหยง่ายที่พบทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบ p-cymene, dithymoquinone, thymohydroquinone, thymol, trans-anethole,  limonene, carvone, carvacrol, 4-terpineol
            สารอัลคาลอยด์ เช่น nigellidine, nigellimine, nigellicine  
            สารซาโปนิน  เช่น  alpha-hederin
            การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
            ระบบทางเดินหายใจ: น้ำมันจากเมล็ดในขนาด 4-32 ไมโครลิตร/กก. เพิ่มแรงดันภายในหลอดลม สาร nigellone ป้องกันภาวะหลอดลมตีบที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยสารฮีสตามีนในหนู ลดการหดเกร็งของหลอดลม
           ระบบหัวใจ และหลอดเลือด: น้ำมันจากเมล็ดในขนาด 4-32 ไมโครลิตร/กก. หรือสาร thymoquinone ในขนาด 0.2-1.6 มก/กก. ลดอัตราการเต้นของหัวใจ และลดความดันโลหิต สารสกัดไดคลอโรมีเทนเมื่อให้หนูที่เป็นความดันกินในขนาด 0.6 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อวัน เป็นเวลา 15 วัน เมื่อวัดความดันโลหิตเปรียบเทียบกับยามาตรฐาน nifedipine พบว่าสารสกัดลดความดันได้ 22% ในขณะที่ nifedipine ลดความดันได้ 18%  และยังทำให้การขับปัสสาวะเพิ่มขึ้น และเพิ่มการขับ โซเดียม คลอไรด์ โปแตสเซียมอิออน และยูเรียทางปัสสาวะ สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์จากเมล็ด ยับยั้ง fibrinolytic activity ทำให้ระยะเวลาที่เลือดไหลลดลงในกระต่าย
           ระบบทางเดินอาหาร: น้ำมันจากเมล็ดป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เมื่อให้หนูโดยการกิน พบว่าเพิ่มการหลั่งเยื่อเมือกที่กระเพาะอาหาร และลดการหลั่งสารฮีสตามีนที่ผนังกระเพาะอาหาร และสามารถป้องกันแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากเอทานอลได้ 53.56%
            ฤทธิ์ต้านจุลชีพ: สารสกัดไดเอทิลอีเทอร์จากเมล็ดสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียกรัมบวก Staphylococcus aureus, เชื้อแบคทีเรียกรัมลบ Pseudomonas aeruginosa, Escherichia coli, เชื้อยีสต์ Candida albican นอกจากนี้สารสกัดน้ำจากเมล็ดยังสามารถยับยั้งแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายชนิด
           ฤทธิ์ต่อพยาธิ: ในเด็กที่ติดเชื้อพยาธิเมื่อให้สารสกัดเอทานอลจากเมล็ด โดยการรับประทานในขนาด 40 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม สามารถลดจำนวนไข่พยาธิในอุจจาระ  การให้น้ำมันจากเมล็ดแก่หนูที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ Schistosoma mansoni เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ พบว่าสามารถลดจำนวนพยาธิที่ตับ และลดจำนวนไข่พยาธิในตับ และลำไส้ได้
           ฤทธิ์ต้านไวรัส: การให้น้ำมันจากเมล็ด โดยการฉีดเข้าทางช่องท้องของหนู พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อเฮอร์ปีส์ ที่ตับ และม้าม ได้ในวันที่ 3 ของการติดเชื้อ โดยในวันที่ 10 ไม่พบเชื้อ และสามารถเพิ่มระดับ interferon gamma เพิ่มจำนวน CD4 helper T cell  ลดจำนวน macrophage ได้
           ฤทธิ์ต้านการอักเสบ: สาร thymoquinone และน้ำมันจากเมล็ด ยับยั้งการหลั่งสารที่ทำให้เกิดการอักเสบหลายชนิด เช่น thromboxane B2, leucotrein B4, cyclooxygenase, lipoxygenase เป็นต้น, สาร nigellone ยับยั้งการปลดปล่อยฮีสตามีน จากช่องท้องหนู
           ฤทธิ์ต้านมะเร็ง: สาร thymoquinone และ dithymoquinone มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ตับอ่อน มดลูก เต้านม รังไข่ และลำไส้ได้ในหลอดทดลอง สารสกัดเอทิลอะซีเตต ยับยั้งมะเร็งเม็ดเลือดขาวในหนูได้  สารซาโปนิน alpha-hederin ยับยั้งการเกิดเนื้องอกในหนูได้ 60-70%
            ฤทธิ์ยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชัน: สาร  thymoquinone  มีฤทธิ์ยับยั้งปฏิกิริยา lipid peroxidation สาร trans-anethole, carvacrol, 4-terpineol ออกฤทธิ์ดีในการจับ superoxide anion
            ฤทธิ์ปกป้องตับ และไต: สาร thymoquinone ป้องกันตับจากสารพิษคาร์บอนเตตราคลอไรด์  และยับยั้งการเกิด lipid peroxidation  และป้องกันไตจากภาวะเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress) โดยการจับกับ superoxide และยับยั้งการเกิด lipid peroxidation
            ฤทธิ์ยับยั้งอาการปวด: สารสกัดน้ำจากเมล็ด ลดปวดในหนูที่ทดสอบด้วยวิธี hot plate แต่ไม่มีฤทธิ์ลดไข้

     ปัจจุบัน เทียนดำ มีอยู่ใน ยาน้ำสมุนไพร ยาสตรี หมอทองอินทร์
     วิธีรับประทาน : รับประทานครั้งละ  1-2 ช้อนโต๊ะ(15-30 ซีซี)  ก่อนอาหาร วันละ 2 ครั้งคือ เวลาเช้า-เย็น(เขย่าขวดก่อนรินยา) และรับประทานขณะท้องว่าง
        ควรรับประทานให้ติดต่อกัน 15 วัน เป็นอย่างน้อย ก็จะเห็นผล
        ปริมาณและราคา  1 ขวด ปริมาณ 750 c.c.    ราคา  750 บาท
     ดูข้อมูลที่ http://ladyherbal.blogspot.com   
     เลขทะเบียนยาที่  G 32/49
     สั่งซื้อละเป็นตัวแทนจำหน่าย ที่
          ผู้จำหน่ายรายใหญ่  คุณวีระชัย ทองสา
                 โทร.084-6822645 , 085-0250423
                 อีเมล์  weerachai.coffee@hotmail.com   
           ศูนย์จำหน่ายกรุงเทพฯ คุณ อนันต์  บุญเดช
                  โทร.089-0553345 , 086-556493


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น